การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
•
การสื่อสารกับการเรียนการสอน
พัฒนาการการเรียนการสอนในปัจจุบัน
มุ่งยึดผู้เรียนเป็นศูนย์กลาง (Child
Center) ตาม พ.ร.บ.การศึกษา 2540 ให้ความสำคัญกับผู้เรียนมากขึ้น
ผู้สอนจะต้องมีความรอบรู้มากกว่า เนื้อหาสาระของวิชาที่จะสอน
และต้องมีความสนใจเกี่ยวกับตัวผู้เรียนแต่ละคนมากขึ้น
ทั้งพฤติกรรมและความประพฤติของผู้เรียน ตลอดจนความสนใจ ความสามารถของแต่ละบุคคล
ผู้สอนจะต้องนำความรู้ความเข้าใจต่างๆเหล่านี้
มารวบรวมวิเคราะห์และประยุกต์เพื่อใช้ประกอบการสอน การสร้างหลักสูตร
การพัฒนาบทเรียน สื่อการสอน อุปกรณ์การศึกษา และการปรับปรุงการสอน ขั้นตอนของการออกแบบระบบการเรียนการสอน เราสามารถแบ่งออกได้เป็น 4
ขั้นตอนใหญ่ๆ ดังนี้
กำหนดเนื้อหาและจุดมุ่งหมาย
(GOALS) การจัดการเรียนการสอนที่ดีจะต้องกำหนดจุดมุ่งหมายหรือเป้าหมาย
ของการเรียนที่ชัดเจน แล้วจึงนำมาวิเคราะห์และสังเคราะห์ให้เป็นเป้าหมายย่อย
หรือวัตถุประสงค์ย่อย
2การทดสอบก่อนการเรียน (Pre Test) เพื่อให้ทราบถึงพื้นฐานความรู้หรือพฤติกรรมเดิมของผู้เรียน ผู้สอนจะทราบว่าผู้เรียนมีความรู้ในระดับใด
ซึ่งจะช่วยให้ผู้สอนสามารถปรับปรุงและวางแผนการสอนได้
1.
ออกแบบกิจกรรมและวิธีการสอน (Activities) โดยคำนึงถึงผู้เรียนเป็นหลัก เวลา สถานที่
สภาพแวดล้อม เพื่อให้สอดคล้องและเหมาะสมกับยุทธศาสตร์การสอน มุ่งให้ผู้เรียนมีส่วนร่วมในกิจกรรมให้ได้รับผลสำเร็จ
2.
การทดสอบหลังการเรียน (Post Test) มุ่งหวังเพื่อวัดและประเมินผล
4.1 วัดผลสัมฤทธิ์ของผู้เรียนเป็นรายบุคคล
4.2 วัดความสำเร็จของหลักสูตรหรือระบบการเรียนการสอน
ระบบการสื่อสารและการเรียนการสอน
ระบบการศึกษาเป็นระบบย่อยระบบหนึ่งของสังคม
ประกอบด้วยระบบต่างๆ เช่น มหาวิทยาลัย โรงเรียนมัธยม ประถมศึกษา ฯลฯ
ระบบเหล่านี้จะมีส่วนประกอบย่อยๆ ที่สัมพันธ์กัน เช่น ระบบหลักสูตร ระบบบริหาร
ระบบการเรียนการสอน ระบบการวัดและประเมินผล เป็นต้น ไม่ว่าจะเป็นระบบใดก็ตาม
ผลลัพท์ของระบบจะต้องได้รับการตรวจสอบและปรับปรุงอยู่เสมอ
เพื่อให้สอดคล้องกับระบบใหญ่
โครงสร้างของระบบ
ทรัพยากร
(In put)
ขบวนการ
(Process)
ผลที่ได้รับ (Out
put)
องค์ประกอบทั้ง
3 ส่วนนี้
จะต้องมีความสัมพันธ์กัน จึงจะทำให้ผลที่ได้รับมีประสิทธิภาพ
และการตรวจสอบประสิทธิภาพของระบบ จะต้องอาศัยข้อมูลย้อนกลับ (Feedback) ที่ได้จากการประเมินผล
เพื่อหาแนวทางการปรับปรุงแก้ไขส่วนที่บกพร่องทั้งสามส่วน
การสื่อสารเพื่อการเรียนการสอน
ความรู้พื้นฐานเรื่องการสื่อสาร
การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิต มนุษย์จำเป็นต้องติดต่อสื่อสารกันอยู่ตลอดเวลา การสื่อสารจึงเป็นปัจจัยสำคัญอย่างหนึ่งนอกเหนือจากปัจจัยพื้นฐานในการดำรงชีวิตของมนุษย์ การสื่อสารมีบทบาทสำคัญต่อการดำเนินชีวิตของมนุษย์มาก การสื่อสารมีความสำคัญอย่างยิ่งในปัจจุบัน ซึ่งได้ชื่อว่าเป็นยุคโลกาภิวัตน์เป็นยุคของข้อมูลข่าวสาร การสื่อสารมีประโยชน์ทั้งในแง่บุคคลและสังคมการสื่อสารทำให้คนมีความรู้และโลกทัศน์ที่กว้างขวางขึ้น การสื่อสารเป็นกระบวนการที่ทำให้สังคม เจริญก้าวหน้าอย่างไม่หยุดยั้ง ทำให้มนุษย์สามารถสืบทอดพัฒนา เรียนรู้ และรับรู้วัฒนธรรมของตนเองและสังคมได้ การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาประเทศ สร้างสรรค์ความเจริญก้าวหน้าแก่ชุมชนและสังคมในทุกด้าน
ความหมายของการสื่อสาร
คำว่า การสื่อสาร (communications) มีที่มาจากรากศัพท์ภาษาลาตินว่า communistหมายถึง ความเหมือนกันหรือร่วมกัน การสื่อสาร (communication) หมายถึงกระบวนการถ่ายทอดข่าวสาร ข้อมูล ความรู้ประสบการณ์ ความรู้สึก ความคิดเห็น ความต้องการจากผู้ส่งสารโดยผ่านสื่อต่าง ๆที่อาจเป็นการพูด การเขียน สัญลักษณ์อื่นใด การแสดงหรือการจัดกิจกรรมต่าง ๆไปยังผู้รับสาร ซึ่งอาจจะใช้กระบวนการสื่อสารที่แตกต่างกันไปตามความเหมาะสมหรือความจำเป็นของตนเองและคู่สื่อสาร โดยมีวัตถุประสงค์ให้เกิดการรับรู้ร่วมกันและมีปฏิกิริยาตอบสนองต่อกัน บริบททางการสื่อสารที่เหมาะสมเป็น ปัจจัยสำคัญที่จะช่วยให้การสื่อสารสัมฤทธิ์ผล |
ความสำคัญของการสื่อสาร
1. การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการดำรงชีวิตของมนุษย์ทุกเพศ ทุกวัยไม่มีใครที่จะดำรงชีวิตได้ โดยปราศจากการสื่อสาร ทุกสาขาอาชีพก็ต้องใช้การสื่อสารในการปฏิบัติงาน การทำธุรกิจต่าง ๆโดยเฉพาะสังคมมนุษย์ที่มีการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาตลอดเวลา พัฒนาการทางสังคมจึงดำเนินไปพร้อม ๆ กับพัฒนาการทางการสื่อสาร 2. การสื่อสารก่อให้เกิดการประสานสัมพันธ์กันระหว่างบุคคลและสังคม ช่วยเสริมสร้างความเข้าใจอันดีระหว่างคนในสังคม ช่วยสืบทอดวัฒนธรรมประเพณี สะท้อนให้เห็นภาพความเจริญรุ่งเรือง วิถีชีวิตของผู้คน ช่วยธำรงสังคมให้อยู่ร่วมกันเป็นปกติสุขและอยู่ร่วมกันอย่างสันติ 3. การสื่อสารเป็นปัจจัยสำคัญในการพัฒนาความเจริญก้าวหน้าทั้งตัวบุคคลและสังคมการพัฒนาทางสังคมในด้านคุณธรรม จริยธรรม วิทยาศาสตร์และเทคโนโลยี ฯลฯรวมทั้งศาสตร์ในการสื่อสาร จำเป็นต้องพัฒนาอย่างไม่หยุดยั้งการสื่อสารเป็นเครื่องมือในการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และพัฒนาความเจริญก้าวหน้าในด้านต่างๆ |
1. ผู้ส่งข่าวสาร (Sender)
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนองกระบวนการสื่อสาร
กระบวนการสื่อสาร (Communication Process) โดยทั่วไปเริ่มต้นจากผู้ส่งข่าวสาร (Sender) ทำหน้าที่เก็บรวบรวม
แนวความคิดหรือข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆเมื่อต้องการส่งข่าวไปยังผู้รับข่าวสารก็จะแปลงแนวความคิดหรือข้อมูล
ที่เกี่ยวข้องออกมาเป็น ตัวอักษร น้ำเสียง สีการเคลื่อนไหว ฯลฯ ซึ่งเรียกว่าข่าวสาร (Massage) จะได้รับการใส่รหัส
(Encoding) แล้วส่งไปยังผู้รับข่าวสาร (Receivers) ผ่านสื่อกลาง (Media) ในช่องทางการสื่อสาร (Communication Channels)
ประเภทต่าง ๆหรืออาจจะถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารโดยตรงก็ได้ ผู้รับข่าวสารเมื่อได้รับข่าวสารแล้วจะ
ถอดรหัส (Decoding) ตามความเข้าใจและประสบการณ์ในอดีตหรือสภาพแวดล้อมในขณะนั้นและมีปฏิกริยาตอบสนอง
กลับไปยังผู้ส่งข่าวสารซึ่งอยู่ในรูปขอความรู้ ความเข้าใจการตอบรับ การปฏิเสธหรือการนิ่งเงียงก็เป็นได้ทั้งนี้ข่าวสาร
ที่ถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารอาจจะไม่ถึงผู้รับข่าวสารทั้งหมดก็เป็นได้หรือข่าวสารอาจถูกบิดเบือนไปเพราะในกระบวนการ
สื่อสาร ย่อมมีโอกาสเกิดสิ่งรบกวนหรือตัวแทรกแซง(Noise or Interferes) ได้ ทุกขั้นตอนของการสื่อสาร
1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
2. มีทักษะในการสื่อสาร
3. เป็นคนช่างสังเกต เรียนรู้ได้เร็วและมีความจำดี
4. มีความซื่อตรงมีความกล้าที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง
5. มีความคิดสุขุมรอบคอบ
6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
7. คิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
8. มีความสามารถแยกแยะและจัดระเบียบข่าวสารต่าง ๆ
9. มีความสามารถในการเขียนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
10. มีศิลปะและเทคนิคการจูงใจคนการสื่อสารกับการศึกษา
2. ข้อมูลข่าวสาร (Message)
3. สื่อในช่องทางการสื่อสาร (Media)
4. ผู้รับข่าวสาร (Receivers)
5. ความเข้าใจและการตอบสนองกระบวนการสื่อสาร
กระบวนการสื่อสาร (Communication Process) โดยทั่วไปเริ่มต้นจากผู้ส่งข่าวสาร (Sender) ทำหน้าที่เก็บรวบรวม
แนวความคิดหรือข้อมูล จากแหล่งข้อมูลต่าง ๆเมื่อต้องการส่งข่าวไปยังผู้รับข่าวสารก็จะแปลงแนวความคิดหรือข้อมูล
ที่เกี่ยวข้องออกมาเป็น ตัวอักษร น้ำเสียง สีการเคลื่อนไหว ฯลฯ ซึ่งเรียกว่าข่าวสาร (Massage) จะได้รับการใส่รหัส
(Encoding) แล้วส่งไปยังผู้รับข่าวสาร (Receivers) ผ่านสื่อกลาง (Media) ในช่องทางการสื่อสาร (Communication Channels)
ประเภทต่าง ๆหรืออาจจะถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารไปยังผู้รับข่าวสารโดยตรงก็ได้ ผู้รับข่าวสารเมื่อได้รับข่าวสารแล้วจะ
ถอดรหัส (Decoding) ตามความเข้าใจและประสบการณ์ในอดีตหรือสภาพแวดล้อมในขณะนั้นและมีปฏิกริยาตอบสนอง
กลับไปยังผู้ส่งข่าวสารซึ่งอยู่ในรูปขอความรู้ ความเข้าใจการตอบรับ การปฏิเสธหรือการนิ่งเงียงก็เป็นได้ทั้งนี้ข่าวสาร
ที่ถูกส่งจากผู้ส่งข่าวสารอาจจะไม่ถึงผู้รับข่าวสารทั้งหมดก็เป็นได้หรือข่าวสารอาจถูกบิดเบือนไปเพราะในกระบวนการ
สื่อสาร ย่อมมีโอกาสเกิดสิ่งรบกวนหรือตัวแทรกแซง(Noise or Interferes) ได้ ทุกขั้นตอนของการสื่อสาร
1. มีความเข้าใจเกี่ยวกับเรื่องต่าง ๆ
2. มีทักษะในการสื่อสาร
3. เป็นคนช่างสังเกต เรียนรู้ได้เร็วและมีความจำดี
4. มีความซื่อตรงมีความกล้าที่จะกระทำในสิ่งที่ถูกต้อง
5. มีความคิดสุขุมรอบคอบ
6. มีความคิดริเริ่มสร้างสรรค์
7. คิดและแก้ไขปัญหาเฉพาะหน้าได้ดี
8. มีความสามารถแยกแยะและจัดระเบียบข่าวสารต่าง ๆ
9. มีความสามารถในการเขียนได้รวดเร็วและมีประสิทธิภาพ
10. มีศิลปะและเทคนิคการจูงใจคนการสื่อสารกับการศึกษา
องค์ประกอบของการสื่อสารประกอบด้วย
พัฒนาการของการสื่อสาร การเปลี่ยนแปลงทางสังคมของโลกนับตั้งแต่มนุษย์ได้มีการรวมกลุ่มกันเป็นสังคมขนาดใหญ่นั้น
อาจแบ่งออกเป็น 3 ยุคที่สำคัญตามลำดับ คือ
เริ่มแรกเป็นยุคของเกษตรกรรมต่อมาเปลี่ยนแปลงเป็นยุคอุตสาหกรรมและถึงปัจจุบันได้ชื่อว่าเป็นยุคของการสื่อสาร
เหตุที่ยุคปัจจุบันได้รับการเรียกขานว่าเป็นยุคของการสื่อสารเพราะเป็นยุคที่เทคโนโลยีด้านการสื่อสารข้อมูลต่างๆ
มีความเจริญก้าวหน้าอย่างมากและอัตราความเจริญเป็นไปอย่างรวดเร็วหลายอย่างแทบไม่น่าเชื่อว่ามนุษย์จะสามารถคิดค้นขึ้นมาได้ในศตวรรษนี้ความเจริญก้าวหน้าของการสื่อสารดังกล่าว
ก่อนที่จะมาถึงจุดนี้นั้นย่อมจะมีพัฒนาการมายาวนานพร้อมกับการเกิดขึ้นของสังคมมนุษย์ตั้งแต่ยุคโบราณ
คุณลักษณะของผู้ประสบความสำเร็จในการสื่อสาร
จุดมุ่งหมายของการสื่อสารในการเรียนการสอนคือการพยายามสร้างความเข้าใจ
ทักษะ ความรู้ ความคิดต่างๆ ร่วมกันระหว่างผู้เรียนกับผู้สอน
ความสำเร็จของการเรียนการสอนพิจารณาได้จากพฤติกรรมของผู้เรียนที่เปลี่ยนแปลงไปตามจุดมุ่งหมายที่ตั้งไว้แต่ต้นตามลักษณะการเรียนรู้นั้นๆ
ปัญหาสำคัญของการสื่อสารในการเรียนการสอนคือทำอย่างไรจึงจะสามารถสร้างความเข้าใจระหว่างครูกับนักเรียนได้อย่างถูกต้องครูผู้สอนจะต้องมีความรู้ความสามารถ
มีทักษะในการสื่อสารและที่สำคัญอีกอย่างหนึ่งสำหรับครู
คือการใช้สื่อการเรียนการสอนต่างๆ
อย่างเหมาะสมนอกเหนือการใช้คำพูดของครูแต่เพียงอย่างเดียว
ทั้งนี้เพราะสื่อหรือโสตทัศนูปกรณ์มีคุณลักษณะพิเศษบางประการที่ไม่มีในตัวบุคคล
คือ
1. จับยึดประสบการณ์
เหตุการณ์กิจกรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้น
สามารถใช้สื่อต่างๆบันทึกไว้เพื่อนำมาศึกษาได้อย่างกว้างขวาง เช่น การบันทึกภาพ
บันทึกเสียง การพิมพ์ฯลฯ
2. ดัดแปลงปรุงแต่งเพื่อทำสิ่งที่เข้าใจยาก
ให้อยู่ในลักษณะที่ศึกษาเข้าใจได้ง่ายขึ้น เช่น การย่อส่วนขยายส่วน ทำให้ช้าลง
ทำให้เร็วขึ้น
จากไกลทำให้ดูใกล้จากสิ่งที่มีความซับซ้อนสามารถแสดงให้เห็นได้อย่างชัดเจนขึ้น
3. ขยายจ่ายแจก
ทำสำเนาหรือเผยแพร่ได้จำนวนมาก เช่น รายการวิทยุ โทรทัศน์ หนังสือพิมพ์
ภาพถ่ายจึงช่วยให้ความรู้ต่างๆ เข้าถึงผู้รับได้เป็นจำนวนมากพร้อมกัน
เครือข่ายคอมพิวเตอร์ทั้งในและต่างประเทศ
ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
- พ.ศ. 2530 ประเทศไทยได้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายเตอร์เน็ตครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในออสเตรเลีย แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากการส่งข้อมูลล่าช้า
- พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (Nectect) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมมือกันเช่าสายโทรศัพท์เพื่อต่อพ่วงคอมพิวเตอร์แต่ละสถาบันเข้าด้วยกัน โดยเรียกเครือข่ายสมัยนั้นว่า "เครือข่ายไทยสาร"
- พ.ศ. 2537 เครือข่ายไทยสารเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และมีหน่วยงานต่างๆของราชการเข้ามาเชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้นเรื่อยๆ และต่อมาทางหน่วยงานเอกชนมีความต้องการใช้บริการมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนเปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่บิษัทต่างๆ หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจ โดยเรียกบริษัทเอกชนที่ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ว่า ISP (Internet Service Provider)
ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตในต่างประเทศ
- อินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นโครงการของARPAnet (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD)
- ค.ศ.1960 (พ.ศ.2503) ARPA ได้ถูกก่อตั้งและได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
- ค.ศ.1969 (พ.ศ.2512) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
- ค.ศ.1983 (พ.ศ.2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตุได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
- การกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986 (พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น- DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง
- ค.ศ.1980 (พ.ศ.2533) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน
ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตในประเทศไทย
- พ.ศ. 2530 ประเทศไทยได้มีการเชื่อมโยงเครือข่ายเตอร์เน็ตครั้งแรก โดยมีจุดประสงค์เพื่อเชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยต่างๆ ทั้งในประเทศ และต่างประเทศ โดยมหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ และสถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) เชื่อมโยงกับมหาวิทยาลัยเมลเบิร์นในออสเตรเลีย แต่ไม่ได้รับความนิยมเท่าที่ควร เนื่องจากการส่งข้อมูลล่าช้า
- พ.ศ. 2535 ศูนย์เทคโนโลยีอิเล็กทรอนิกส์และคอมพิวเตอร์แห่งชาติ (Nectect) ร่วมกับจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย สถาบันเทคโนโลยีแห่งเอเชีย (AIT) มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และมหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์ ร่วมมือกันเช่าสายโทรศัพท์เพื่อต่อพ่วงคอมพิวเตอร์แต่ละสถาบันเข้าด้วยกัน โดยเรียกเครือข่ายสมัยนั้นว่า "เครือข่ายไทยสาร"
- พ.ศ. 2537 เครือข่ายไทยสารเติบโตขึ้นเรื่อยๆ และมีหน่วยงานต่างๆของราชการเข้ามาเชื่อมต่อในเครือข่ายมากขึ้นเรื่อยๆ และต่อมาทางหน่วยงานเอกชนมีความต้องการใช้บริการมากขึ้น การสื่อสารแห่งประเทศไทย จึงได้ร่วมมือกับบริษัทเอกชนเปิดให้บริการอินเตอร์เน็ตแก่บิษัทต่างๆ หรือบุคคลทั่วไปที่สนใจ โดยเรียกบริษัทเอกชนที่ให้บริการทางอินเตอร์เน็ตเชิงพาณิชย์ว่า ISP (Internet Service Provider)
ในความเป็นจริง ไม่มีใครเป็นเจ้าของ internet และไม่มีใครมีสิทธิขาดแต่เพียงผู้เดียว ในการกำหนดมาตรฐานใหม่ต่าง ๆ ผู้ติดสินว่าสิ่งไหนดี มาตรฐานไหนจะได้รับการยอมรับ คือ ผู้ใช้ ที่กระจายอยู่ทั่วทุกมุมโลก ที่ได้ทดลองใช้มาตรฐานเหล่านั้น และจะใช้ต่อไปหรือไม่เท่านั้น ส่วนมาตรฐานเดิมที่เป็นพื้นฐานของระบบ เช่น TCP/IP หรือ Domain name ก็จะต้องยึดตามนั้นต่อไป เพราะ Internet เป็นระบบกระจายฐานข้อมูล การจะเปลี่ยนแปลงระบบพื้นฐาน จึงไม่ใช่เรื่องง่ายนัก
ความเป็นมาของอินเตอร์เน็ตในต่างประเทศ
- อินเตอร์เน็ต ซึ่งเป็นโครงการของARPAnet (Advanced Research Projects Agency Network) ซึ่งเป็นหน่วยงานที่สังกัด กระทรวงกลาโหม ของสหรัฐ (U.S.Department of Defense - DoD)
- ค.ศ.1960 (พ.ศ.2503) ARPA ได้ถูกก่อตั้งและได้ถูกพัฒนาเรื่อยมา
- ค.ศ.1969 (พ.ศ.2512) ARPA ได้รับทุนสนันสนุน จากหลายฝ่าย ซึ่งหนึ่งในผู้สนับสนุนก็คือ Edward Kenedy และเปลี่ยนชื่อจาก ARPA เป็น DARPA(Defense Advanced Research Projects Agency) พร้อมเปลี่ยนแปลงนโยบายบางอย่าง และในปีค.ศ.1969(พ.ศ.2512)นี้เองที่ได้ทดลองการเชื่อมต่อคอมพิวเตอร์คนละชนิด จาก 4 แห่งเข้าหากันเป็นครั้งแรก คือ มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย สถาบันวิจัยสแตนฟอร์ด มหาวิทยาลัยแคลิฟอร์เนีย และมหาวิทยาลัยยูทาห์ เครือข่ายทดลองประสบความสำเร็จอย่างมาก ดังนั้นในปีค.ศ.1975(พ.ศ.2518) จึงได้เปลี่ยนจากเครือข่ายทดลอง เป็นเครือข่ายที่ใช้งานจริง ซึ่ง DARPA ได้โอนหน้าที่รับผิดชอบโดยตรง ให้แก่ หน่วยการสื่อสารของกองทัพสหรัฐ (Defense Communications Agency - ปัจจุบันคือ Defense Informations Systems Agency) แต่ในปัจจุบัน Internet มีคณะทำงานที่รับผิดชอบบริหารเครือข่ายโดยรวม เช่น ISOC (Internet Society) ดูแลวัตถุประสงค์หลัก, IAB (Internet Architecture Board) พิจารณาอนุมัติมาตรฐานใหม่ในInternet, IETF (Internet Engineering Task Force) พัฒนามาตรฐานที่ใช้กับ Internet ซึ่งเป็นการทำงานโดยอาสาสมัคร ทั้งสิ้น
- ค.ศ.1983 (พ.ศ.2526) DARPA ตัดสินใจนำ TCP/IP (Transmission Control Protocal/Internet Protocal) มาใช้กับคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องในระบบ ทำให้เป็นมาตรฐานของวิธีการติดต่อ ในระบบเครือข่าย Internet จนกระทั่งปัจจุบัน จึงสังเกตุได้ว่า ในเครื่องคอมพิวเตอร์ทุกเครื่องที่จะต่อ internet ได้จะต้องเพิ่ม TCP/IP ลงไปเสมอ เพราะ TCP/IP คือข้อกำหนดที่ทำให้คอมพิวเตอร์ทั่วโลก ทุก platform คุยกันรู้เรื่อง และสื่อสารกันได้อย่างถูกต้อง
- การกำหนดชื่อโดเมน (Domain Name System) มีขึ้นเมื่อ ค.ศ.1986 (พ.ศ.2529) เพื่อสร้างฐานข้อมูลแบบกระจาย (Distribution database) อยู่ในแต่ละเครือข่าย และให้ ISP(Internet Service Provider) ช่วยจัดทำฐานข้อมูลของตนเอง จึงไม่จำเป็นต้องมีฐานข้อมูลแบบรวมศูนย์ เหมือนแต่ก่อน เช่น การเรียกเว็บ www.yonok.ac.th จะไปที่ตรวจสอบว่ามีชื่อนี้ หรือไม่ ที่ www.thnic.co.th ซึ่งมีฐานข้อมูลของเว็บที่ลงท้ายด้วย th ทั้งหมด เป็นต้น- DARPA ได้ทำหน้าที่รับผิดชอบดูแลระบบ internet เรื่อยมาจนถึง
- ค.ศ.1980 (พ.ศ.2533) และให้ มูลนิธิวิทยาศาสตร์แห่งชาติ (National Science Foundation - NSF) เข้ามาดูแลแทนร่วม กับอีกหลายหน่วยงาน
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น